ประวัติยูลิอุสโยทาร์ ไมเออร์

การจัดกลุ่มธาตุของไมเออร์และเมเดเลเอฟ

ยูลิอุสโยทาร์ ไมเออร์  นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน  และเดมิทริ อิวาโนวิช เมเดเลเอฟ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ศึกษารายละเอียดของธาตุมากขึ้น  พบว่าถ้าจัดเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก  ธาตุจะมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ  เมเดเลเอฟจึงตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎพีริออดิก   โดยได้เสนอความคิดนี้ในปี พ.ศ. 2412  ก่อนที่ไมเออร์จะเสนอผลงานเพียงหนึ่งปี  เพื่อเป็นเกียรติแก่เมเดเลเอฟ  จึงเรียกตารางนี้ว่า ตารางพีริออดิกของเมเดเลเอฟ 


ยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์(นักเคมีชาวเยอรมัน)
เมเดเลเอฟได้นำสมบัติที่คล้ายคลึงกันของธาตุซึ่งปรากฎซ้ำกันเป็นช่วง ๆ มาพิจารณาประกอบกับการจัดเรียงธาตุตามมวลอะตอม  และยังได้เว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่มีการค้นพบ  โดยตำแหน่งของธาตุในตารางมีความสัมพันธ์กับสมบัติของธาตุ  และยังได้ทำนายสมบัติของธาตุที่ยังไม่มีการค้นพบไว้ 3 ธาตุ  โดยให้ชื่อว่า  เอคา–โบรอน , เอคา–อะลูมินัม , เอคา–ซิลิคอน  ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีผู้ค้นพบธาตุที่เมเดเลเอฟได้ทำนายไว้  ซึ่งก็คือธาตุสแกนเดียม (Sc)  แกลเลียม (Ga)  และเจอร์มเเนียม (Ge)  ตามลำดับ





ตารางเปรียบเทียบสมบัติของเอคา–ซิลิคอนกับเจเมเนียม 
สมบัติ
เอคา–ซิลิคอน
ทำนายเมื่อ พ.ศ. 2414
เจอร์เมนียม
ทำนายเมื่อ พ.ศ. 2429
มวลอะตอม
72
72.6
ความหนาแน่น (g/cm3)
5.5
5.47
สี
เทาเข้ม
เทาขาว
ความหนาแน่นของออกไซด์ (g/cm3)
EsO2 = 4.7
GeO2 = 4.70
ความหนาแน่นของคลอไรด์ (g/cm3)
EsCl4 = 1.9
GeCl4 = 1.89
จุดเดือดสารประกอบของคลอไรด์
< 100 OC
86 OC

ตารางธาตุของเมเดเลเอฟยังมีปัญหาคือไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงต้องเรียงธาตุตามมวลอะตอม  เนื่องจากในสมัยนั้นการศึกษาเรื่องโครงสร้างอะตอมและไอโซโทปยังไม่ชัดเจน  แต่ได้มีผู้เสนอแนวคิดไว้ว่าตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุไม่น่าจะเรียงตามมวลอะตอม  แต่น่าจะขึ้นอยู่กับสมบัติอื่นที่มีความสัมพันธ์กับมวลอะตอม


ผลงาน





การสร้างตารางธาตุของ ยูลิอุส  โลทาร์  ไมเออร์  

 กราฟของโลทาร์ ไมเออร์ ที่เขียนขึ้นระหว่างปริมาตรของธาตุ 1 โมลกับมวลอะตอมของธาตุ
กราฟของโลทาร์ ไมเออร์  ที่เขียนขึ้นระหว่างจุดหลอมเหลวกับมวลอะตอมของธาตุ

น.ส.ณัฐกานต์ พรหมทองนุ่น เลขที่ 21 ม 4/6

น.ส.ศุภลักษณ์ สุขโสม  เลขที่ 22 ม 4/6